รูปภาพ

รูปภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 11/03/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้มีการสอบปฏิบัติการสอน รายวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สำหรับการสอบสอนในวันนี้ข้าพเจ้าสอบเกี่ยวกับหน่วย คมนาคม กิจกรรม เสริมประสบการณ์
แผนการสอน
วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถท่องเนื้อเพลงเกี่ยวกับ"ยานพาหนะ"ได้
2.เด็กสามารถสนทนาและแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได็
3.เด็กสามารถบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะเวลาในการเดินทางได้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ด้านอารมณ์/จิตใจ
- การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว
ด้านสังคม
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ควรเรียนรู้
- การเลือกใช้ยานพาหนะในการเดินทาง
- การบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะเวลาในกาเดินทาง
ด้านสติปัญญา
- การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันท่องเนื้อเพลง"ยานพาหนะ"
ฮึก ฮึก ฮึก เครื่องบินกระหมึ่บนฟ้า
ปื้น ปื๊น ปื๊น รถยนต์เล่นมาแต่ไกล
ปู๊น ปู๊น ปู๊น นั่นเสียงหวูดรถไฟ
ตึ๊ก ตึ๊ก ตึ๊ก เรือนยนต์แล่นในแม่น้ำลำคลอง
ขั้นสอน
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเนื้อเพลง โดยครูใช้คำถาม
-เด็กๆในเนื้อเพลงมีเสียงรถอะไรบ้างค่ะ
2.ครูนำภาพแผนที่ให้เด็กๆดู โดยครูใช้คำถาม
-เด็กๆเคยไปเที่ยวที่ไหนบ้างที่ไกลจากประเทศไทย
-เด็กๆใช้ยานพาหนะอะไรในการเดินทาง
ขั้นสรุป
1.ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ ประเภท,ชนิดและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
โดยครูบันทึกลงในกระดาษชารต์
สื่อ/แหล่งที่มา
1.เนื้อเพลง ยานพาหนะ
2.ภาพแผนที่
3.รูปภาพยานพาหนะ
4.กระดาษชารต์
5.เชือก
6.ปากกาเคมี
การวัดการประเมินผล
1.สังเกตจากการสนทนาและตอบคำถาม
2.สังเกตจากการร่วมกิจกรรมกับครูและเพื่อนๆ

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 11/03/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้มีการสอบปฏิบัติการสอน รายวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สำหรับการสอบสอนในวันนี้ข้าพเจ้าสอบเกี่ยวกับหน่วย คมนาคม กิจกรรม เสริมประสบการณ์
แผนการสอน
วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถท่องเนื้อเพลงเกี่ยวกับ"ยานพาหนะ"ได้
2.เด็กสามารถสนทนาและแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได็
3.เด็กสามารถบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะเวลาในการเดินทางได้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ด้านอารมณ์/จิตใจ
- การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว
ด้านสังคม
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ควรเรียนรู้
- การเลือกใช้ยานพาหนะในการเดินทาง
- การบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะเวลาในกาเดินทาง
ด้านสติปัญญา
- การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันท่องเนื้อเพลง"ยานพาหนะ"
ฮึก ฮึก ฮึก เครื่องบินกระหมึ่บนฟ้า
ปื้น ปื๊น ปื๊น รถยนต์เล่นมาแต่ไกล
ปู๊น ปู๊น ปู๊น นั่นเสียงหวูดรถไฟ
ตึ๊ก ตึ๊ก ตึ๊ก เรือนยนต์แล่นในแม่น้ำลำคลอง
ขั้นสอน
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเนื้อเพลง โดยครูใช้คำถาม
-เด็กๆในเนื้อเพลงมีเสียงรถอะไรบ้างค่ะ
2.ครูนำภาพแผนที่ให้เด็กๆดู โดยครูใช้คำถาม
-เด็กๆเคยไปเที่ยวที่ไหนบ้างที่ไกลจากประเทศไทย
-เด็กๆใช้ยานพาหนะอะไรในการเดินทาง
ขั้นสรุป
1.ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ ประเภท,ชนิดและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
โดยครูบันทึกลงในกระดาษชารต์
สื่อ/แหล่งที่มา
1.เนื้อเพลง ยานพาหนะ
2.ภาพแผนที่
3.รูปภาพยานพาหนะ
4.กระดาษชารต์
5.เชือก
6.ปากกาเคมี
การวัดการประเมินผล
1.สังเกตจากการสนทนาและตอบคำถาม
2.สังเกตจากการร่วมกิจกรรมกับครูและเพื่อนๆ

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 06/03/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์นัดสอบสอน วันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น.-12.00 น. อาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
1. อาจารย์จะดูแผนการสอนตรงตามมาตรฐานหรือไม่
2. การสอน
- การบูรณาการ
- สื่อ
- เทคนิค
- การประเมิน
และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเขียนคำคล้องจองของเพื่อนบางคนให้เพื่อนๆคนอื่นดู พร้อมทั้งให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำคล้องจองที่ถูกต้อง จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนเด็กว่า เราต้องมีเทคนิคการสอนที่ทำให้เด็กอยากรู้ และสนใจที่ครูสอน ยกตัวอย่างเช่น การร้องเพลงเพื่อเก็บเด็กเราอาจจะมีเพลงเดียว แต่มีการบูรณาการเนื้อเพลงให้มีความหลากหลายในการร้อง ใช้วิธีที่หลากหลายในการพูด ทำให้ดึงดูดความสนใจเด็กและมาสนใจครูผู้สอน และตื่นเต้น ไม่เบื่อหน่ายกับเพลงเดิมๆ หากเราทำได้เช่นนี้ก็จะสามารถเก็บเด็กได้ สำหรับวันนี้อาจารย์เลิกเรียนเร็วกว่าปกติ สาเหตุเนื่องมาจากเพื่อนในห้องเกิดอุบัติเหตุรถล้ม อาจารย์เป็นห่วงจึงเลิกเรียนเร็วค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 28/02/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากข้าพเจ้างานรับปริญญาของญาติที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 21/02/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดสื่อและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการสอนและตรวจแผนการสอนของแต่ละกลุ่มแตในกลุ่มข้าพเจ้าเลือกสอนหน่วยคมนาคมและมีสื่ออุปกรณ์ในการสอนดังนี้
1.กระดาษชาร์ต
2.รูปภาพ
3.ยานพาหนะ
4.กาว
5.ปากกาเคมี
6.ยานพาหนะจำลอง
และในวันนี้อาจารย์ตรวจแผนการสอนของกลุ่มข้าพเจ้าในหน่วยคมนาคมและอาจารย์ให้คำแนะนำแผนการสอนของแต่ละคนให้ไปปรับปรุงแก้ไขและส่งแผนในครั้งต่อไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 14/02/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนการสอนของเพื่อนทุกคนและอาจารย์ได้แนะนำวิธีการเขียนแผนที่ถูกต้อง มีดังนี้
1)การจัดประสบการณ์
-คณิตศาสตร์ เนื้อหา ทักษะทางคณิตศาสตร์
-ทฤษฎีแนวคิดการพัฒนาการสำหรับเด็ก
-สื่อสภาพแวดล้อม
2) รูปกิจกรรมเสริมประสบการณ์
-แผนกับการแก้ไขกับมาตรฐานแก้ไขและเตรียมอุปกรณ์ในการสอน
-ใส่เนื้อหาให้ละเอียด
3)ขั้นนำ โดยใช้การสนทนา
-ในเพลงเขาทำอะไร มีอะไรบ้าง
-การสนทนาเพื่อให้การสอนเชื่อมโยงกันและเชื่อมโยงความคิด
4) ขั้นสอน เราเอานิทานมาใช้ก็ได้
5) ขั้นสรุป โดยใช้การสนทนากับเด็กเกี่ยวกับเนื้อหาแล้วมาสรุปพร้อมกัน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9 07/02/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนทุกคนๆ การเรียนการสอนในวันนี้ดิฉันไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติเนื่องจากมีอาการปวดหัวมากค่ะ จึงได้ศึกษาเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอนจากบล็อกของอรอุมาว่ามีอะไรบ้างจึงสรุปได้ดังนี้ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดเรื่องงานกีฬาสีของเอก และให้ส่งแผนเพื่อนำมาคู่กับแผนใหม่ จากนั้นอาจารย์สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้ การหาปริมาตร เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เวลา เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา การวัด ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่วยและอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเองคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ
(1.) แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
(2.) แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และอาจารย์ถามต่อว่าแล้วแบบผสมผสานมีหรือเปล่า
วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง
2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้
4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
5. ความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง มี 2 แบบ
6.1 เคลื่อนไหวพื้อนฐาน
6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไรคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8 31/01/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อทีจะได้ให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ
และอาจารย์พูดถึงสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีทั้งหมด 6 สาระ ได้แก่
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด
สาระที่3 เรขาคณิต
สาระที่4 พีชคณิต
สาระที่5 การวิเคราห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7 24/01/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สนทนาพูดคุยการไปสังเกตการณ์กับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง ใครอยากเปลี่ยนโรงเรียน และอาจารย์ได้สนทนาพูดคุยกับนักศึกษาแต่ละโรงเรียนมีว่าการเรียนการสอนอย่างไรและการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างไร หรือมีการสอนอะไรบ้าง จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้แต่ละคนไปทำมีดังนี้
1.ให้นักศึกษาพิมพ์ชื่อตัวเอง และพิมพ์ชื่อเล่นของตัวเอง โดยมีข้อกำหนดว่า ตัวอักษรใช้ฟร้อน Angsananew ขนาด 36 ทำตัวหนาทุกข้อความ และให้ดูว่าชื่อของแต่ละคนเลขที่เท่าไร และเทียบดูว่าเลขที่ของเราตรงกับวันอะไรในสัปดาห์ แล้วให้เขียนวัน และทำสีที่ตรงกับวันนั้น พร้อมทั้งเขียนเลขที่ของตัวเองด้วย (โดยต้องสร้างกรอบข้อความทุกอัน)
2.ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนเกี่ยวกับเสริมประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำหน่วย "ดอกไม้" เตรียมสื่อมาด้วย พร้อมทั้งสอนสอดแทรกเรื่องคณิตฯ มีข้อยกเว้นในการเขียนขั้นนำคือ ไม่ใช้การสนทนา แต่ให้ใช้คำคล้องจอง นิทาน เพลง เกม ปริศนาคำทายแทน ถ้าขั้นนำเป็นเพลงเนื้อหาต้องสอดคล้องกัน และสื่อหรือของที่นำมาในการสอน เช่น ผัก ดอกไม้ เป็นต้น ต้องมีภาชนะใส่ หรือมีฝาปิดให้เรีบยร้อย และอาจารย์บอกว่าถ้าใครมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการเขียนแผนสามารถมาปรึกษาอาจารย์ได้ค่ะ
3.ให้นักศึกษาทุกคนสมัครสมาชิกโทรทัศน์ครู และให้เข้าไปที่โทรทัศน์ครูให้ลิงค์โทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เข้าบล็อกด้วย พร้อมทั้งสรุปเนื้อหา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5-6 10/1/55-17/1/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพ
วันนี้นักศึกษาทุกคนออกปฎิบัติการวิชาชีพครู1
เป็นเวลา10วัน ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 19 มกราคม พ.ศ 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4 27/12/54

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพ
วันนี้ข้าพเจ้าไม่ได้มาเรียนเนื่องจากข้าพเจ้าไม่สบายปวดท้อง(มาประจำเดือน)ค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3 20/12/54

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดถึงนักทฤษฎี นักการศึกษาปฐมวัย มี 4 คนที่ต้องจำคือ
อิริคสัน ฟรอยด์ เพียเจท์ กีเซล
และอาจารย์พูดถึงกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
(1.) การรู้จักตัวเลข
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 การรู้จักตัวเลขอาจจะช้าแต่การรู้จักแบบ ปากเปล่าจะเร็วกว่า เพราะเด็กอกกเสียง หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า อยู่ๆ จะให้เด็กนับเลขไม่ได้ จะต้องวางแผนให้เป็นระบบ คือให้เด็กจัดเป็นแถวเพื่อที่จะให้เด็กรู้ว่าคนไหนนับแล้วบ้าง สิ่งที่นับเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
(2.) รูปร่างรูปทรง
เด็กควรที่จะรู้จักความหมายของ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ก่อน แต่เด็กจะไม่รู้จักว่าอันไหน สามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม แต่ครู พ่อแม่ และสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กรู้ รูปร่างรูปทรงเหมือนเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ตรงกันว่าเป็นรูปร่างรูปทรง
(3.) การนับ
นับปากเปล่า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
นับที่จะบอกจำนวน 12345 12345 แล้วครูถามว่ามีกี่จำนวน
(4.) การชั่งตวงวัด
เด็กจะรู้ค่าตัวเลข ซึ่งมีหน่วยกำกับ เริ่มที่จะมีเครื่องมือมาเกี่ยวข้องแต่มันก็สัมพันธ์เกี่ยวกับปริมาณอยู่
(5.) การเพิ่มและลดจำนวน
คือให้เด็กนับว่า มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 พอสอนหลายๆครั้งแล้วค่อยใหัเด็กนับเพิ่มแบบ 1 2 3 4 5 6 แล้วสอนแบบลด มีอยู่ 10 เอาออก 1 เหลือ 9 มีอยู่ 9 เอาออก 1 เหลือ 8 ควรที่จะสอนอย่างเป็นระบบ
(6.) รู้จักความสัมพันธ์จำนวนกับตัวเลข
รู้จักตัวเลขในเชิงความหมายก่อน ที่จะใช้สัญลักษณ์
(7.) การจำแนกประเภท
เมื่อเป็นประเภทจะต้องมีเกณฑ์ประเภทนั้นๆ
(8.) การจัดหมวดหมู่
เป็นการย่อยมาจากประเภท ควรที่จะใช้เกณฑ์ 1 อย่างก่อน
(9.) การเปรียเทียบ
เช่น การจัดกลุ่มคนที่1 สูง 5 คนที่ 2 สูง 7 แล้วเอามาเปรียบเทียบกันว่าคนที่ 1 กับ 2 จะสูงกว่า
(10.) เรียงลำดับ

และอาจารย์ได้สอนเนื้อเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
1. เพลง 1 2 3
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้ 1 ตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบ ฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉัน กลัวฉัน กลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

2. เพลง นับเลข
12 12 34 มาอยุ่ที่นี่นะแม่ 4 5 6
พี่ไม่หลอกบอกไม่โกหก แม่ 4 5 6 7 8 9 10

3. เพลง นิ้วมือของฉัน
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
มือซ้ายนั้นมี 5 นิ้ว มือขวานั้นมี 5 นิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้ว นับจงอย่ารีบ นับ 1ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

4. เพลง 1 ปี 12 เดือน
1 ปี นั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน 1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ บึ้ม ลั้น ลั๊น ลา ลั๊น ลา