รูปภาพ

รูปภาพ

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7 24/01/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สนทนาพูดคุยการไปสังเกตการณ์กับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง ใครอยากเปลี่ยนโรงเรียน และอาจารย์ได้สนทนาพูดคุยกับนักศึกษาแต่ละโรงเรียนมีว่าการเรียนการสอนอย่างไรและการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างไร หรือมีการสอนอะไรบ้าง จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้แต่ละคนไปทำมีดังนี้
1.ให้นักศึกษาพิมพ์ชื่อตัวเอง และพิมพ์ชื่อเล่นของตัวเอง โดยมีข้อกำหนดว่า ตัวอักษรใช้ฟร้อน Angsananew ขนาด 36 ทำตัวหนาทุกข้อความ และให้ดูว่าชื่อของแต่ละคนเลขที่เท่าไร และเทียบดูว่าเลขที่ของเราตรงกับวันอะไรในสัปดาห์ แล้วให้เขียนวัน และทำสีที่ตรงกับวันนั้น พร้อมทั้งเขียนเลขที่ของตัวเองด้วย (โดยต้องสร้างกรอบข้อความทุกอัน)
2.ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนเกี่ยวกับเสริมประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำหน่วย "ดอกไม้" เตรียมสื่อมาด้วย พร้อมทั้งสอนสอดแทรกเรื่องคณิตฯ มีข้อยกเว้นในการเขียนขั้นนำคือ ไม่ใช้การสนทนา แต่ให้ใช้คำคล้องจอง นิทาน เพลง เกม ปริศนาคำทายแทน ถ้าขั้นนำเป็นเพลงเนื้อหาต้องสอดคล้องกัน และสื่อหรือของที่นำมาในการสอน เช่น ผัก ดอกไม้ เป็นต้น ต้องมีภาชนะใส่ หรือมีฝาปิดให้เรีบยร้อย และอาจารย์บอกว่าถ้าใครมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการเขียนแผนสามารถมาปรึกษาอาจารย์ได้ค่ะ
3.ให้นักศึกษาทุกคนสมัครสมาชิกโทรทัศน์ครู และให้เข้าไปที่โทรทัศน์ครูให้ลิงค์โทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เข้าบล็อกด้วย พร้อมทั้งสรุปเนื้อหา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5-6 10/1/55-17/1/55

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพ
วันนี้นักศึกษาทุกคนออกปฎิบัติการวิชาชีพครู1
เป็นเวลา10วัน ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 19 มกราคม พ.ศ 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4 27/12/54

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพ
วันนี้ข้าพเจ้าไม่ได้มาเรียนเนื่องจากข้าพเจ้าไม่สบายปวดท้อง(มาประจำเดือน)ค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3 20/12/54

สวัสดิอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดถึงนักทฤษฎี นักการศึกษาปฐมวัย มี 4 คนที่ต้องจำคือ
อิริคสัน ฟรอยด์ เพียเจท์ กีเซล
และอาจารย์พูดถึงกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
(1.) การรู้จักตัวเลข
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 การรู้จักตัวเลขอาจจะช้าแต่การรู้จักแบบ ปากเปล่าจะเร็วกว่า เพราะเด็กอกกเสียง หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า อยู่ๆ จะให้เด็กนับเลขไม่ได้ จะต้องวางแผนให้เป็นระบบ คือให้เด็กจัดเป็นแถวเพื่อที่จะให้เด็กรู้ว่าคนไหนนับแล้วบ้าง สิ่งที่นับเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
(2.) รูปร่างรูปทรง
เด็กควรที่จะรู้จักความหมายของ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ก่อน แต่เด็กจะไม่รู้จักว่าอันไหน สามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม แต่ครู พ่อแม่ และสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กรู้ รูปร่างรูปทรงเหมือนเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ตรงกันว่าเป็นรูปร่างรูปทรง
(3.) การนับ
นับปากเปล่า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
นับที่จะบอกจำนวน 12345 12345 แล้วครูถามว่ามีกี่จำนวน
(4.) การชั่งตวงวัด
เด็กจะรู้ค่าตัวเลข ซึ่งมีหน่วยกำกับ เริ่มที่จะมีเครื่องมือมาเกี่ยวข้องแต่มันก็สัมพันธ์เกี่ยวกับปริมาณอยู่
(5.) การเพิ่มและลดจำนวน
คือให้เด็กนับว่า มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 พอสอนหลายๆครั้งแล้วค่อยใหัเด็กนับเพิ่มแบบ 1 2 3 4 5 6 แล้วสอนแบบลด มีอยู่ 10 เอาออก 1 เหลือ 9 มีอยู่ 9 เอาออก 1 เหลือ 8 ควรที่จะสอนอย่างเป็นระบบ
(6.) รู้จักความสัมพันธ์จำนวนกับตัวเลข
รู้จักตัวเลขในเชิงความหมายก่อน ที่จะใช้สัญลักษณ์
(7.) การจำแนกประเภท
เมื่อเป็นประเภทจะต้องมีเกณฑ์ประเภทนั้นๆ
(8.) การจัดหมวดหมู่
เป็นการย่อยมาจากประเภท ควรที่จะใช้เกณฑ์ 1 อย่างก่อน
(9.) การเปรียเทียบ
เช่น การจัดกลุ่มคนที่1 สูง 5 คนที่ 2 สูง 7 แล้วเอามาเปรียบเทียบกันว่าคนที่ 1 กับ 2 จะสูงกว่า
(10.) เรียงลำดับ

และอาจารย์ได้สอนเนื้อเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
1. เพลง 1 2 3
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้ 1 ตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบ ฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉัน กลัวฉัน กลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

2. เพลง นับเลข
12 12 34 มาอยุ่ที่นี่นะแม่ 4 5 6
พี่ไม่หลอกบอกไม่โกหก แม่ 4 5 6 7 8 9 10

3. เพลง นิ้วมือของฉัน
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
มือซ้ายนั้นมี 5 นิ้ว มือขวานั้นมี 5 นิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้ว นับจงอย่ารีบ นับ 1ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

4. เพลง 1 ปี 12 เดือน
1 ปี นั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน 1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ บึ้ม ลั้น ลั๊น ลา ลั๊น ลา